9 สถาปัตย์ศิลป์ที่ "ในหลวง" ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยในการออกแบบ
สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ จัดนิทรรศการ ๙ สถาปัตย์ศิลป์พระภูมินทร์อัครศิลปินสยาม เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา
เนื้อหาของนิทรรศการเกี่ยวข้องกับ สถาปัตยกรรมไทย 9 แห่ง ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยในการออกแบบ ก่อสร้างโดยสถาปนิกศิลปินแห่งชาติผู้ถวายงานทั้ง 3 ท่าน จากมหาวิทยาลัยศิลปากร คือ ดร.ประเวศ ลิมปรังษี, อ.วนิดา พึ่งสุนทร และ พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น
เนื้อหาของนิทรรศการเกี่ยวข้องกับ สถาปัตยกรรมไทย 9 แห่ง ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยในการออกแบบ ก่อสร้างโดยสถาปนิกศิลปินแห่งชาติผู้ถวายงานทั้ง 3 ท่าน จากมหาวิทยาลัยศิลปากร คือ ดร.ประเวศ ลิมปรังษี, อ.วนิดา พึ่งสุนทร และ พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น
1.พระอุโบสถ วัดโสธรวรารามวรวิหาร
สถาปนิก ประเวศ ลิมปรังษี
ที่ตั้ง จ.ฉะเชิงเทรา
การออกแบบพระอุโบสถนั้น ผู้ออกแบบได้เน้นการประยุกต์รูปแบบที่ไม่อิงตามแบบแผนของเขตพุทธาวาสทั่วไป โดยการรวมพระอุโบสถเข้ากับพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ ให้เป็นหลังเดียวกัน ซึ่งเป็นสถาปัตนกรรมแนวใหม่ยุครัชกาลที่ 9 และมีคุณลักษณะต้องตามพระราชดำริ คือ ให้เป็นอาคารที่สมเกียรติกับหลวงพ่อพุทธโสธร มีความสง่างาม มีคุณค่าทางศิลปกรรม เหมาะสมที่จะเป็นพุทธสถาน เป็นถาวรวัตถุคู่บ้านคู่เมือง
สถาปนิก ประเวศ ลิมปรังษี
ที่ตั้ง จ.ฉะเชิงเทรา
การออกแบบพระอุโบสถนั้น ผู้ออกแบบได้เน้นการประยุกต์รูปแบบที่ไม่อิงตามแบบแผนของเขตพุทธาวาสทั่วไป โดยการรวมพระอุโบสถเข้ากับพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ ให้เป็นหลังเดียวกัน ซึ่งเป็นสถาปัตนกรรมแนวใหม่ยุครัชกาลที่ 9 และมีคุณลักษณะต้องตามพระราชดำริ คือ ให้เป็นอาคารที่สมเกียรติกับหลวงพ่อพุทธโสธร มีความสง่างาม มีคุณค่าทางศิลปกรรม เหมาะสมที่จะเป็นพุทธสถาน เป็นถาวรวัตถุคู่บ้านคู่เมือง
2.พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
สถาปนิก ประเวศ ลิมปรังษี
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร
ในการออกแบบพระเมรุมาศองค์นี้ อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี สถาปนิกผู้ถวายงาน ได้นำแนวคิดด่านรูปร่าง แบบ และชั้นเชิงของพระเมรุมาศองค์กลาง ของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ มาเป็นแนวทางในการออกแบบ พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
แต่ได้ประพันธ์ลวดลายและการตกแต่งราย ละเอียดขึ้นใหม่ทั้งหมด โดยคำนึงถึงพระราชจริยวัตรในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ที่สง่างาม นุ่มนวล อีกทั้งแบบที่ใช้ได้เน้นการตกแต่งด้วยสีสันสวยงาม ตามแบบอย่างพระเมรุสี ที่มีความอ่อนช้อยอย่างสตรี
พระเมรุมาศเป็นอาคารทรงปราสาทแบบจตุรมุข ยอดทรงมณฑป ประกอบด้วย พรหมพักตร์ ยอดบนสุดประดิษฐานสัปตปฏลเศวตฉัตร
สถาปนิก ประเวศ ลิมปรังษี
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร
ในการออกแบบพระเมรุมาศองค์นี้ อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี สถาปนิกผู้ถวายงาน ได้นำแนวคิดด่านรูปร่าง แบบ และชั้นเชิงของพระเมรุมาศองค์กลาง ของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ มาเป็นแนวทางในการออกแบบ พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
แต่ได้ประพันธ์ลวดลายและการตกแต่งราย ละเอียดขึ้นใหม่ทั้งหมด โดยคำนึงถึงพระราชจริยวัตรในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ที่สง่างาม นุ่มนวล อีกทั้งแบบที่ใช้ได้เน้นการตกแต่งด้วยสีสันสวยงาม ตามแบบอย่างพระเมรุสี ที่มีความอ่อนช้อยอย่างสตรี
พระเมรุมาศเป็นอาคารทรงปราสาทแบบจตุรมุข ยอดทรงมณฑป ประกอบด้วย พรหมพักตร์ ยอดบนสุดประดิษฐานสัปตปฏลเศวตฉัตร
3.พระมหาธาตุ เฉลิมราชศรัทธา
สถาปนิก วนิดา พึ่งสุนทร
ที่ตั้ง รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
พระมหาเจดีย์องค์นี้มีรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมผสมผสาน ลักษณะเด่นของศิลปสถาปัตยกรรมไทย นับแต่สมัยสุโขทัยลงมาจวบจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งประกอบด้วยการใช้บัวฝาละมีซ้อนสามชั้นเป็นส่วนรับเรือนธาตุ อันเป็นลักษณะเฉพาะในสมัยสุโขทัย
การใช้เรือนธาตุแบบระฆังคว่ำ มีแนวบัวรอบปากระฆัง ซึ่งพบมากในสมัยอยุธยา และการใช้ปลียอดเป็นแบบบัวกลุ่มซ้อนชั้น อันเป็นลักษณะเด่นของสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีเจดีย์ประธานขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง ส่วนปลายยอดเป็นฉัตรโลหะหล่อ 9 ชั้น ล้อมด้วยเจดีย์ขนาดเล็กบนมุขหลังคาซุ้มพระ 8 ยอด รวมเป็นพระเจดีย์เก้ายอด องค์ระฆังของเจดีย์ทั้งเก้ายอดประดับด้วยโมเสกสีทองทั้งหมด
สถาปนิก วนิดา พึ่งสุนทร
ที่ตั้ง รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
พระมหาเจดีย์องค์นี้มีรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมผสมผสาน ลักษณะเด่นของศิลปสถาปัตยกรรมไทย นับแต่สมัยสุโขทัยลงมาจวบจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งประกอบด้วยการใช้บัวฝาละมีซ้อนสามชั้นเป็นส่วนรับเรือนธาตุ อันเป็นลักษณะเฉพาะในสมัยสุโขทัย
การใช้เรือนธาตุแบบระฆังคว่ำ มีแนวบัวรอบปากระฆัง ซึ่งพบมากในสมัยอยุธยา และการใช้ปลียอดเป็นแบบบัวกลุ่มซ้อนชั้น อันเป็นลักษณะเด่นของสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีเจดีย์ประธานขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง ส่วนปลายยอดเป็นฉัตรโลหะหล่อ 9 ชั้น ล้อมด้วยเจดีย์ขนาดเล็กบนมุขหลังคาซุ้มพระ 8 ยอด รวมเป็นพระเจดีย์เก้ายอด องค์ระฆังของเจดีย์ทั้งเก้ายอดประดับด้วยโมเสกสีทองทั้งหมด
4.พระอุโบสถวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
สถาปนิก พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร
สถาปนิกผู้ถวายงานน้อมรับแนวพระราช ดำริ มาดำเนินการออกแบบพระอุโบสถ โดยเน้นประโยชน์ใช้สอยภายในอาคารอย่างคุ้มค่า รูปแบบการศึกษาศิลปกรรมเป็นการผสมผสานสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมร่วมสมัย โดยได้ต้นเค้าจากสถาปัตยกรรมรูปทรงปูนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชี้ให้เห็นถึงพระราชนิยมที่ประหยัด เรียบง่าย เน้นการใช้ประโยชน์สูงสุดเป็นสำคัญ และยังถูกต้องตามพระราชประสงค์ให้พระอุโบสถเรียบง่ายเช่นนี้ เป็นตัวอย่างของวัดสำหรับชุมชนอีกด้วย
สถาปนิก พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร
สถาปนิกผู้ถวายงานน้อมรับแนวพระราช ดำริ มาดำเนินการออกแบบพระอุโบสถ โดยเน้นประโยชน์ใช้สอยภายในอาคารอย่างคุ้มค่า รูปแบบการศึกษาศิลปกรรมเป็นการผสมผสานสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมร่วมสมัย โดยได้ต้นเค้าจากสถาปัตยกรรมรูปทรงปูนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชี้ให้เห็นถึงพระราชนิยมที่ประหยัด เรียบง่าย เน้นการใช้ประโยชน์สูงสุดเป็นสำคัญ และยังถูกต้องตามพระราชประสงค์ให้พระอุโบสถเรียบง่ายเช่นนี้ เป็นตัวอย่างของวัดสำหรับชุมชนอีกด้วย
5.การอนุรักษ์พระพุทธรัตนสถาน
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร
พระพุทธรัตนสถาน เป็นอาคารชั้นเดียว ยกพื้นสูง แบ่งเป็น 3 ระดับ หลังคาทรงไทย มีมุขลดทั้งทางด้านทิศตะวันออก และด้านทิศตะวันตก หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ผนังประดับด้วยหินอ่อนสีเทา ภายในประดับภาพจิตรกรรมฝาผนัง
กรมศิลปากร ได้รับสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการดำเนินการอนุรักษ์ และเขียนภาพจิตรกรรมบนพื้นผนังระหว่างช่องพระบัญชรทั้ง 8 ผนัง ภายในพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมา
สำหรับแนวทางในการเขียนภาพนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริให้ยึดความสำคัญของพุทธ รัตนสถานเป็นหัวใจของการกำหนดภาพ เป็นภาพที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานและพระราชกรณีย กิจในพระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆ
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร
พระพุทธรัตนสถาน เป็นอาคารชั้นเดียว ยกพื้นสูง แบ่งเป็น 3 ระดับ หลังคาทรงไทย มีมุขลดทั้งทางด้านทิศตะวันออก และด้านทิศตะวันตก หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ผนังประดับด้วยหินอ่อนสีเทา ภายในประดับภาพจิตรกรรมฝาผนัง
กรมศิลปากร ได้รับสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการดำเนินการอนุรักษ์ และเขียนภาพจิตรกรรมบนพื้นผนังระหว่างช่องพระบัญชรทั้ง 8 ผนัง ภายในพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมา
สำหรับแนวทางในการเขียนภาพนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริให้ยึดความสำคัญของพุทธ รัตนสถานเป็นหัวใจของการกำหนดภาพ เป็นภาพที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานและพระราชกรณีย กิจในพระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆ
6.พระอุโบสถวัดพุทธประทีป
สถาปนิก ประเวศ ลิมปรังษี
ที่ตั้ง กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
การออกแบบพระอุโบสถวัดพุทธประทีป ผู้ออกแบบได้เน้นการประยุกต์รูปแบบบและระบบการก่อสร้างอาคารที่เหมาะสมกับ สภาพที่ตั้งและสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศของประเทสอังกฤษที่มีความหนาวเย็น โดยใช้ผังพื้นรูปแบบโบสถ์ฝรั่ง และดัดแปลงหลังคาบางส่วนให้มีศิลปะแบบวัดไทย
สถาปนิก ประเวศ ลิมปรังษี
ที่ตั้ง กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
การออกแบบพระอุโบสถวัดพุทธประทีป ผู้ออกแบบได้เน้นการประยุกต์รูปแบบบและระบบการก่อสร้างอาคารที่เหมาะสมกับ สภาพที่ตั้งและสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศของประเทสอังกฤษที่มีความหนาวเย็น โดยใช้ผังพื้นรูปแบบโบสถ์ฝรั่ง และดัดแปลงหลังคาบางส่วนให้มีศิลปะแบบวัดไทย
7.ศาลหลักเมือง
สถาปนิก พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร
ศาลหลักเมืองหลังใหม่นี้ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบยุคสมัยรัชกาลที่ 4 กล่าววคือ เป็นอาคารเครื่องปูน ทรงยอดปรางค์ มีมุขยื่นทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านมีหลังคาซ้อน 2 ชั้น และมัมุขลดอีกด้านละ 1 ชั้น มีหลังคากันสาดโดยรอบ เครื่องมุงประดับกระเบื้องเคลือบ
ลักษณะศิลปกรรมได้รับอิทธิพลจากวัดเฉลิมพระเกียรติ โดยมีช่อฟ้าเป็นแบบนกเจ่า ซึ่งเป็นศิลปกรรมที่เป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 4
ส่วนใบระกานั้นทำเป็นลายช่อหางโตแทน ลายใบเทศ หน้าบันเป็นรูปดอกพุดตานประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ พื้นลายสีเหลือง ตัวดอกและช่อลายสลับสี โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังบุหินอ่อน มีประตูทางเข้าทั้ง 4 ด้าน ยกพื้นโดยรอบ บุด้วยหินอ่อนและมีพนักระเบียงหินอ่อนโดยรอบ มุขพักระเบียงประดับเสาหัวเม็ดทำด้วยหินอ่อนเช่นเดียวกัน
สถาปนิก พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร
ศาลหลักเมืองหลังใหม่นี้ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบยุคสมัยรัชกาลที่ 4 กล่าววคือ เป็นอาคารเครื่องปูน ทรงยอดปรางค์ มีมุขยื่นทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านมีหลังคาซ้อน 2 ชั้น และมัมุขลดอีกด้านละ 1 ชั้น มีหลังคากันสาดโดยรอบ เครื่องมุงประดับกระเบื้องเคลือบ
ลักษณะศิลปกรรมได้รับอิทธิพลจากวัดเฉลิมพระเกียรติ โดยมีช่อฟ้าเป็นแบบนกเจ่า ซึ่งเป็นศิลปกรรมที่เป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 4
ส่วนใบระกานั้นทำเป็นลายช่อหางโตแทน ลายใบเทศ หน้าบันเป็นรูปดอกพุดตานประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ พื้นลายสีเหลือง ตัวดอกและช่อลายสลับสี โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังบุหินอ่อน มีประตูทางเข้าทั้ง 4 ด้าน ยกพื้นโดยรอบ บุด้วยหินอ่อนและมีพนักระเบียงหินอ่อนโดยรอบ มุขพักระเบียงประดับเสาหัวเม็ดทำด้วยหินอ่อนเช่นเดียวกัน
8.อาคารประดิษฐานพระบรมรูป พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
สถาปนิก วนิดา พึ่งสุนทร
ที่ตั้ง รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
แบบทางสถาปัตยกรรมได้ถูกร่างให้สอด คล้องกับความสูงของพระบรมรูปที่มีขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริงเพื่อความสง่างาม โดยมีการผสมผสานศิลปสถาปัตยกรรมของไทยและอินเดียเข้าด้วยกัน ผังอาคารเป็นผังพื้นแปดเหลี่ยมรับกับฐานภายใน ซึ่งรองรับองค์พระบรมรูปบรอนซ์ทอง ประทับยืนฉลองพระองค์ด้วยชุดกองทัพไทย ขนาดสูง 2.30 เมตร การตกแต่งอาคารภายในวาดภาพจิตรกรรมภายใต้โดมกลีบมะเฟืองหินอ่อนเป็นภาพฉัตร เก้าชั้น มีพระปรมาภิไธยย่อ ลอยเด่นอยู่เหนือฉัตร
สถาปนิก วนิดา พึ่งสุนทร
ที่ตั้ง รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
แบบทางสถาปัตยกรรมได้ถูกร่างให้สอด คล้องกับความสูงของพระบรมรูปที่มีขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริงเพื่อความสง่างาม โดยมีการผสมผสานศิลปสถาปัตยกรรมของไทยและอินเดียเข้าด้วยกัน ผังอาคารเป็นผังพื้นแปดเหลี่ยมรับกับฐานภายใน ซึ่งรองรับองค์พระบรมรูปบรอนซ์ทอง ประทับยืนฉลองพระองค์ด้วยชุดกองทัพไทย ขนาดสูง 2.30 เมตร การตกแต่งอาคารภายในวาดภาพจิตรกรรมภายใต้โดมกลีบมะเฟืองหินอ่อนเป็นภาพฉัตร เก้าชั้น มีพระปรมาภิไธยย่อ ลอยเด่นอยู่เหนือฉัตร
9.ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สถาปนิก ประเวศ ลิมปรังษี
ที่ตั้ง จ.หนองบัวลำภู
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นอาคารที่มีลักษณะคล้ายหอพระ หรือ ศาลที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีรูปแบบเป็นสถาปัตกรรมไทย ตัวศาลเป็นอาคารไม้ทรงไทย ผู้ออกแบบได้ออกแบบตกแต่งอาคารอย่างมีความหมาย โดยใช้รูปแบบของเครื่องศาสตราวุธและเครื่องทรงที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรง ใช้ในการศึกครั้งสำคัญเป็นองค์ประกอบหลักในการตกแต่งหน้าบัน เป็นรูปพระแสงของ้าวไขว้กับพระแสงดาบคาบค่าย
เหนือขึ้นไปเป็นรูปพระมาลาเบี่ยง ประดับตกแต่งปิดทองลายเพดานและดาวเพดานภายในศาลและเพดานปีกนก ภายในศาลประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประทับยืนขนาดเท่าองค์จริง
สถาปนิก ประเวศ ลิมปรังษี
ที่ตั้ง จ.หนองบัวลำภู
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นอาคารที่มีลักษณะคล้ายหอพระ หรือ ศาลที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีรูปแบบเป็นสถาปัตกรรมไทย ตัวศาลเป็นอาคารไม้ทรงไทย ผู้ออกแบบได้ออกแบบตกแต่งอาคารอย่างมีความหมาย โดยใช้รูปแบบของเครื่องศาสตราวุธและเครื่องทรงที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรง ใช้ในการศึกครั้งสำคัญเป็นองค์ประกอบหลักในการตกแต่งหน้าบัน เป็นรูปพระแสงของ้าวไขว้กับพระแสงดาบคาบค่าย
เหนือขึ้นไปเป็นรูปพระมาลาเบี่ยง ประดับตกแต่งปิดทองลายเพดานและดาวเพดานภายในศาลและเพดานปีกนก ภายในศาลประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประทับยืนขนาดเท่าองค์จริง
******************
ขอขอบคุณภาพเเละข้อมูลจาก
http://www.manager.co.th/CelebOnline /ViewNews.aspx?NewsID=9550000000945
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น