Translate

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 2 ภาพนี้ เป็นตัวอย่างของภาพที่ถูกเขียนขึ้นด้วยมือซ้ายของ ตี๋ - ชิงชัย อุดมเจริญกิจ


ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 2 ภาพนี้ เป็นตัวอย่างของภาพที่ถูกเขียนขึ้นด้วยมือซ้ายของ ตี๋ - ชิงชัย อุดมเจริญกิจ

 













ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 2 ภาพนี้ เป็นตัวอย่างของภาพที่ถูกเขียนขึ้นด้วยมือซ้ายของ ตี๋ - ชิงชัย อุดมเจริญกิจ ศิลปินผู้สูญเสียมือข้างขวาไปจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2551
      
       กำลังจะถูกนำไปจัดแสดงพร้อมผลงานอีกหลายชิ้นของเขา ผ่านนิทรรศการ Right then Left เพื่อเป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่สูญเสียในสิ่งที่ตัวเองเคยมี ให้สามารถก้าวผ่านความท้อแท้และอุปสรรค จนสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้
      
       และตี๋อยากให้ทุกคนที่รู้สึกว่าตนเองสูญเสีย ลองปรับวิธีคิดว่า การสูญเสียสิ่งหนึ่งไป อาจหมายถึงการได้มาซึ่งอีกสิ่ง
      
       
เหมือนเช่นเขา ที่การสูญเสียมือข้างขวาไป ทำให้ค้นพบในศักยภาพของมือข้างซ้าย ที่เคยถูกทิ้งให้เป็น มือสำรอง มาโดยตลอด
      
       “เราได้ใช้มืออีกข้าง ที่ปกติเคยใช้ล้างก้น (หัวเราะ) ได้เห็นคุณค่าของมัน ใช้หยิบข้าวกิน มือซ้ายเดี๋ยวนี้มันดีใจมากเลย เมื่อก่อนมันน้อยใจ ถูกใช้แต่ในเรื่องที่คนรังเกียจ พอมาวันหนึ่ง มือขวามันบ๊ายบาย ฉันไม่ไหวแล้วนะ มือซ้ายก็บอกว่า นี่แหล่ะ เป็นโอกาสที่ฉันจะได้ทำในสิ่งที่มือขวาทำ แต่ขณะเดียวกันฉันก็ยังทำหน้าที่เดิมอยู่ดี”


  ความคิดที่มองโลกไปในแง่บวกเช่นนี้ เคยถูกส่งผ่านอีเมลไปยังมิตรสหายมาแล้วนักต่อนัก และครั้งนี้เป็นโอกาส ที่ตี๋จะใช้ภาพเขียน เป็นสื่อกลางส่งความปรารถนาดีไปยังอีกหลายๆคนที่เขาไม่รู้จัก แต่ยังรักที่จะปีนต้นท้ออยู่นั่น
      
       “คนที่เคยมีร่างกายครบ 32 พอวันหนึ่งมีไม่ครบ ทำให้ไม่มีกำลังใจใช้ชีวิต จนต้องหยุดทำงาน รวมถึงคนที่รู้สึกท้อแท้และเด็กที่ด้อยโอกาส อยากให้มองมาที่ผม เพราะผมอยากเป็นกำลังใจให้พวกเขา
      
       ผมอยากบอกพวกเขาว่า เฮ้ย.. คุณยังมีอยู่นะ สิ่งที่ก่อนหน้านี้คุณก็ไม่เคยใช้งานมัน มีเยอะแยะเลย ในร่างกาย”
      
       ตี๋บอกพร้อมใบหน้าที่เปี่ยมไปด้วยพลังในการใช้ชีวิต ในวันที่เปิด ร้านชินตา ณ ชุมชน 70 ไร่ คลองเตย ให้เราได้เข้าเยี่ยมเยือน ซึ่งมันเป็นทั้ง ที่พักอาศัย สตูดิโอสร้างงาน แกลเลอรี่ โรงเรียนสอนศิลปะเด็ก ที่เก็บค่าเรียนต่อหัวเพียง 10 บาท และร้านกาแฟ
      
       ทุกสิ่งที่สรรหามาไว้ท่ามกลางบรรยกาศ ซึ่งถูกเรียกว่า “ชุมชนแออัด” นี้ เกิดขึ้นมาจากความคิดของตี๋ที่เห็นว่า ทำไมคนในชุมชนจะมีสิทธิ์เสพศิลปะและรื่นรมย์ในชีวิต แบบคนภายนอกไม่ได้
      
       เช่นกันว่า รายได้ส่วนหนึ่งจากการแสดงผลงานครั้งนี้ เขาตั้งใจที่จะมอบให้ มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล (Mercy Center) เพื่อ เป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนศิลปะ หลังจากที่ครั้งหนึ่ง อดีตเด็กชายผู้เกิดและเติบโตในชุมชนคลองเตย ท่ามกลางชีวิตที่สุ่มเสี่ยงต่อการเดินทางผิด เช่นเขา เคยได้รับโอกาสและความช่วยเหลือจากมูลนิธิฯ มาโดยตลอด
      
       “บาทหลวง โจเซฟ เอช ไมเออร์ หรือ คุณพ่อโจ ท่าน เป็นนักบวชที่ให้อย่างเดียว หาเงินมาเข้ามูลนิธิฯ และผมก็เคยได้รับความช่วยเหลือจากท่าน เคยคิดมานานแล้วว่า จะหาทางคืนให้สังคมได้อย่างไรบ้าง ตอนนี้ผมมีโอกาส มีช่องทางทำนิทรรศการแสดงผลงาน จึงตั้งใจจะนำรายได้ส่วนหนึ่งไปช่วย”

 ภาพเขียนส่วนใหญ่ในนิทรรศการ นอกจากจะเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รวมถึงภาพ “ช้าง” ที่ตี๋เขียนขึ้นด้วยมือซ้าย ยังเป็นภาพเขียนในแนว เอ็กซเพรสชั่นนิสม์ (Expressionism) ที่ตี๋นำเสนอด้วยเทคนิคที่เรียกว่า สื่อผสม (Mixed Media)
      
       “ที่เลือกเขียนภาพในหลวงกับพระราชินี เพราะผมชอบเขียนภาพ Portrait เขียนภาพเหมือนคน แต่ก่อนหน้านี้ ผมชอบเขียนภาพช้างในแนวเอ็กซเพรสชั่นนิสม์มาก่อน เพราะเป็นอะไรที่สนุกสนาน สามารถใส่อารมณ์และเล่นกับพื้นผิวของงานได้เยอะ
      
       พอมาเขียนภาพในหลวงกับพระราชินีในแนว นี้ การที่จะเอาวัสดุมาเล่นกับพื้นผิวของใบหน้าคน ที่ยิ่งเป็นบุคคลสำคัญ ต้องคิดหนักเลย แต่ผมกล้าที่จะทำ เพราะผมไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดี และ ผมก็เคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จฯท่าน”
      
       ดังที่เราเคยรับทราบจากข่าวว่า เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ “ตี๋” พร้อมภรรยา เข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสาทิสลักษณ์ ที่ตี๋เขียนขึ้นด้วยมือซ้าย และทรงมีพระราชปฏิสันถารว่า “เก่งมาก”

      
       “ผมมองย้อนกลับไปดูการทรงงาน ศิลปะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเปิดแง่คิดให้คนมองว่า ทรงเปิดกว้างขนาดไหน เห็นได้จากภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงนำเสนอให้มีลักษณะเป็นมิติ เป็นงานศิลปะแบบคิวบิสม์(cubism) เราเป็นคนทำงานศิลปะ ก็เลยไม่กลัวไง มีความสุข งานที่ออกมา ก็เลยดูออกว่า คนที่ทำมีความสุข” 

 และแทนผู้ชมจะมองว่า รูปแบบศิลปะที่ตี๋เลือกมานำเสนอภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของทั้งสองพระองค์ เป็นสิ่งไม่เหมาะไม่ควร เขากลับอยากให้มองไปที่ความหมายอันแท้จริงที่พยายามจะสื่อสารกับผู้ชม มากกว่า
      
       “ลักษณะพื้นผิวของงานที่พระ พักตร์ของทั้งสองพระองค์ เปรียบเสมือน ร่องรอยของกาลเวลา ที่บันทึกไว้ว่า ตลอดมาทั้งสองพระองค์ ทรงงานเพื่อประชาชน เสด็จไปยังทุกพื้นที่ๆทุรกันดาร ผมอาจจะพูดในทุกสิ่งที่รู้สึกออกมาเป็นคำพูดได้ไม่หมด แต่ทุกความรู้สึกที่ผมมีต่อทั้งสองพระองค์ ได้ถูกบันทึกไว้บนภาพเขียนของผมแล้ว”
      
       ภาพเขียนทั้งหมดในนิทรรศการครั้งนี้ จึงเหมาะจะเป็นสิ่งแทนกำลังใจจาก “ตี๋” ผู้ไม่มีท้อ เป็นอย่างยิ่ง
      
       นิทรรศการ Right then Left วันที่ 11 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ณ Club Arts Gallery by the river ซ.วัดระฆัง วันแรกเปิดนิทรรศการ เวลา 18.00น. โดยมี บาทหลวง โจเซฟ เอช ไมเออร์ เป็นประธาน สอบถาม โทร.0-2866-2143

 Text by  ฮักก้า  Photo by  ศิวกร เสนสอน

                                     ขอขอบคุณภาพเเละข้อมูลจาก

 http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9540000126324
 

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนิทรรศการ วิสาขบูชา พ.ศ.๒๕๕๐


ภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนิทรรศการ วิสาขบูชา พ.ศ.๒๕๕๐




 ธ สถิตในรอยธรรม




 ธ ทรงธรรมเมื่อวันเยาว์ชันษา





เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม





ธ ก้าวย่างบนทางธรรม





ทศพิธราชธรรม : ราชธรรมเพื่อชาวไทย





ทศพิธราชธรรม : ราชธรรมเพื่อชาวไทย





ทศพิธราชธรรม : ราชธรรมเพื่อชาวไทย




ทศพิธราชธรรม : ราชธรรมเพื่อชาวไทย





ทศพิธราชธรรม : ราชธรรมเพื่อชาวไทย




ธ ทรงธรรมบำรุงพระศาสนา




ธ ทรงสืบทอดพุทธประเพณี  





 ธ ทรงอุปถัมภ์การชำระพระไตรปิฎก





ธ ทรงศึกษาลึกซึ้งถึงรากแก้ว





ธ ทรงส่งเสริมการศึกษาภิกษุสงฆ์





 พระราชธรรมในพระราชนิพนธ์






ธ ทรงสืบสานงานสร้างพุทธศิลป์ 






พระธรรมในพระทัย





 มัชฌิมาปฏิปทา ทุกก้าวย่างอย่างพอเพียง






ธ ทรงเป็นจอมกษัตริย์แห่งปรัชญา





 จากฟ้าสู่ดิน...จากธรรมะสู่ธรรมชาติพระราชทาน





ธ บันดาลผืนดินเป็นสินหล้า





ธ บันดาลผืนฟ้ามาเป็นฝน






ธ บันดาลพืชพรรณสู่ผืนชล







ธ บันดาลสร้างคนบนผืนไทย






 ธ ทรงวางรอยเท้าให้ก้าวตาม





เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม







ธ ทรงเป็นที่แซ่ซ้องสดุดี 









ขอขอบคุณภาพเเละข้อมูลจาก
วิสาขบูชา ดอท เน็ต

http://202.28.52.45/vesak50/exhibitions_thumb.php?trnslang=th&ex_type=King







วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

9 สถาปัตย์ศิลป์ที่ "ในหลวง" ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยในการออกแบบ

9 สถาปัตย์ศิลป์ที่ "ในหลวง" ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยในการออกแบบ 

 

สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ จัดนิทรรศการ ๙ สถาปัตย์ศิลป์พระภูมินทร์อัครศิลปินสยาม เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา
      
       เนื้อหาของนิทรรศการเกี่ยวข้องกับ สถาปัตยกรรมไทย 9 แห่ง ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยในการออกแบบ ก่อสร้างโดยสถาปนิกศิลปินแห่งชาติผู้ถวายงานทั้ง 3 ท่าน จากมหาวิทยาลัยศิลปากร คือ ดร.ประเวศ ลิมปรังษี, อ.วนิดา พึ่งสุนทร และ พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น








 1.พระอุโบสถ วัดโสธรวรารามวรวิหาร
      
       สถาปนิก   ประเวศ ลิมปรังษี
       ที่ตั้ง        จ.ฉะเชิงเทรา

      
       การออกแบบพระอุโบสถนั้น ผู้ออกแบบได้เน้นการประยุกต์รูปแบบที่ไม่อิงตามแบบแผนของเขตพุทธาวาสทั่วไป โดยการรวมพระอุโบสถเข้ากับพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ ให้เป็นหลังเดียวกัน ซึ่งเป็นสถาปัตนกรรมแนวใหม่ยุครัชกาลที่ 9 และมีคุณลักษณะต้องตามพระราชดำริ คือ ให้เป็นอาคารที่สมเกียรติกับหลวงพ่อพุทธโสธร มีความสง่างาม มีคุณค่าทางศิลปกรรม เหมาะสมที่จะเป็นพุทธสถาน เป็นถาวรวัตถุคู่บ้านคู่เมือง





 2.พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
      
       สถาปนิก ประเวศ ลิมปรังษี
       ที่ตั้ง       กรุงเทพมหานคร

      
       ในการออกแบบพระเมรุมาศองค์นี้ อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี สถาปนิกผู้ถวายงาน ได้นำแนวคิดด่านรูปร่าง แบบ และชั้นเชิงของพระเมรุมาศองค์กลาง ของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ มาเป็นแนวทางในการออกแบบ พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
      
       แต่ได้ประพันธ์ลวดลายและการตกแต่งราย ละเอียดขึ้นใหม่ทั้งหมด โดยคำนึงถึงพระราชจริยวัตรในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ที่สง่างาม นุ่มนวล อีกทั้งแบบที่ใช้ได้เน้นการตกแต่งด้วยสีสันสวยงาม ตามแบบอย่างพระเมรุสี ที่มีความอ่อนช้อยอย่างสตรี
      
       พระเมรุมาศเป็นอาคารทรงปราสาทแบบจตุรมุข ยอดทรงมณฑป ประกอบด้วย พรหมพักตร์ ยอดบนสุดประดิษฐานสัปตปฏลเศวตฉัตร






 3.พระมหาธาตุ เฉลิมราชศรัทธา
      
       สถาปนิก วนิดา พึ่งสุนทร
       ที่ตั้ง       รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย

      
       พระมหาเจดีย์องค์นี้มีรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมผสมผสาน ลักษณะเด่นของศิลปสถาปัตยกรรมไทย นับแต่สมัยสุโขทัยลงมาจวบจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งประกอบด้วยการใช้บัวฝาละมีซ้อนสามชั้นเป็นส่วนรับเรือนธาตุ อันเป็นลักษณะเฉพาะในสมัยสุโขทัย
      
       การใช้เรือนธาตุแบบระฆังคว่ำ มีแนวบัวรอบปากระฆัง ซึ่งพบมากในสมัยอยุธยา และการใช้ปลียอดเป็นแบบบัวกลุ่มซ้อนชั้น อันเป็นลักษณะเด่นของสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีเจดีย์ประธานขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง ส่วนปลายยอดเป็นฉัตรโลหะหล่อ 9 ชั้น ล้อมด้วยเจดีย์ขนาดเล็กบนมุขหลังคาซุ้มพระ 8 ยอด รวมเป็นพระเจดีย์เก้ายอด องค์ระฆังของเจดีย์ทั้งเก้ายอดประดับด้วยโมเสกสีทองทั้งหมด






4.พระอุโบสถวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
      
       สถาปนิก พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น
       ที่ตั้ง       กรุงเทพมหานคร

      
       สถาปนิกผู้ถวายงานน้อมรับแนวพระราช ดำริ มาดำเนินการออกแบบพระอุโบสถ โดยเน้นประโยชน์ใช้สอยภายในอาคารอย่างคุ้มค่า รูปแบบการศึกษาศิลปกรรมเป็นการผสมผสานสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมร่วมสมัย โดยได้ต้นเค้าจากสถาปัตยกรรมรูปทรงปูนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชี้ให้เห็นถึงพระราชนิยมที่ประหยัด เรียบง่าย เน้นการใช้ประโยชน์สูงสุดเป็นสำคัญ และยังถูกต้องตามพระราชประสงค์ให้พระอุโบสถเรียบง่ายเช่นนี้ เป็นตัวอย่างของวัดสำหรับชุมชนอีกด้วย






 5.การอนุรักษ์พระพุทธรัตนสถาน
      
       ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร

      
       พระพุทธรัตนสถาน เป็นอาคารชั้นเดียว ยกพื้นสูง แบ่งเป็น 3 ระดับ หลังคาทรงไทย มีมุขลดทั้งทางด้านทิศตะวันออก และด้านทิศตะวันตก หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ผนังประดับด้วยหินอ่อนสีเทา ภายในประดับภาพจิตรกรรมฝาผนัง
      
       กรมศิลปากร ได้รับสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการดำเนินการอนุรักษ์ และเขียนภาพจิตรกรรมบนพื้นผนังระหว่างช่องพระบัญชรทั้ง 8 ผนัง ภายในพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมา
      
       สำหรับแนวทางในการเขียนภาพนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริให้ยึดความสำคัญของพุทธ รัตนสถานเป็นหัวใจของการกำหนดภาพ เป็นภาพที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานและพระราชกรณีย กิจในพระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆ







  
 6.พระอุโบสถวัดพุทธประทีป
      
       สถาปนิก ประเวศ ลิมปรังษี
       ที่ตั้ง        กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

      
       การออกแบบพระอุโบสถวัดพุทธประทีป ผู้ออกแบบได้เน้นการประยุกต์รูปแบบบและระบบการก่อสร้างอาคารที่เหมาะสมกับ สภาพที่ตั้งและสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศของประเทสอังกฤษที่มีความหนาวเย็น โดยใช้ผังพื้นรูปแบบโบสถ์ฝรั่ง และดัดแปลงหลังคาบางส่วนให้มีศิลปะแบบวัดไทย




 7.ศาลหลักเมือง
      
       สถาปนิก พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น
       ที่ตั้ง       กรุงเทพมหานคร

      
       ศาลหลักเมืองหลังใหม่นี้ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบยุคสมัยรัชกาลที่ 4 กล่าววคือ เป็นอาคารเครื่องปูน ทรงยอดปรางค์ มีมุขยื่นทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านมีหลังคาซ้อน 2 ชั้น และมัมุขลดอีกด้านละ 1 ชั้น มีหลังคากันสาดโดยรอบ เครื่องมุงประดับกระเบื้องเคลือบ
      
       ลักษณะศิลปกรรมได้รับอิทธิพลจากวัดเฉลิมพระเกียรติ โดยมีช่อฟ้าเป็นแบบนกเจ่า ซึ่งเป็นศิลปกรรมที่เป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 4
      
       ส่วนใบระกานั้นทำเป็นลายช่อหางโตแทน ลายใบเทศ หน้าบันเป็นรูปดอกพุดตานประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ พื้นลายสีเหลือง ตัวดอกและช่อลายสลับสี โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังบุหินอ่อน มีประตูทางเข้าทั้ง 4 ด้าน ยกพื้นโดยรอบ บุด้วยหินอ่อนและมีพนักระเบียงหินอ่อนโดยรอบ มุขพักระเบียงประดับเสาหัวเม็ดทำด้วยหินอ่อนเช่นเดียวกัน






8.อาคารประดิษฐานพระบรมรูป พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
      
       สถาปนิก   วนิดา พึ่งสุนทร
       
ที่ตั้ง        รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
      
       แบบทางสถาปัตยกรรมได้ถูกร่างให้สอด คล้องกับความสูงของพระบรมรูปที่มีขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริงเพื่อความสง่างาม โดยมีการผสมผสานศิลปสถาปัตยกรรมของไทยและอินเดียเข้าด้วยกัน ผังอาคารเป็นผังพื้นแปดเหลี่ยมรับกับฐานภายใน ซึ่งรองรับองค์พระบรมรูปบรอนซ์ทอง ประทับยืนฉลองพระองค์ด้วยชุดกองทัพไทย ขนาดสูง 2.30 เมตร การตกแต่งอาคารภายในวาดภาพจิตรกรรมภายใต้โดมกลีบมะเฟืองหินอ่อนเป็นภาพฉัตร เก้าชั้น มีพระปรมาภิไธยย่อ ลอยเด่นอยู่เหนือฉัตร





 9.ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
      
       สถาปนิก ประเวศ ลิมปรังษี
       ที่ตั้ง       จ.หนองบัวลำภู

      
       ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นอาคารที่มีลักษณะคล้ายหอพระ หรือ ศาลที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีรูปแบบเป็นสถาปัตกรรมไทย ตัวศาลเป็นอาคารไม้ทรงไทย ผู้ออกแบบได้ออกแบบตกแต่งอาคารอย่างมีความหมาย โดยใช้รูปแบบของเครื่องศาสตราวุธและเครื่องทรงที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรง ใช้ในการศึกครั้งสำคัญเป็นองค์ประกอบหลักในการตกแต่งหน้าบัน เป็นรูปพระแสงของ้าวไขว้กับพระแสงดาบคาบค่าย
      
       เหนือขึ้นไปเป็นรูปพระมาลาเบี่ยง ประดับตกแต่งปิดทองลายเพดานและดาวเพดานภายในศาลและเพดานปีกนก ภายในศาลประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประทับยืนขนาดเท่าองค์จริง


                                              ******************


                                          ขอขอบคุณภาพเเละข้อมูลจาก


                       http://www.manager.co.th/CelebOnline              /ViewNews.aspx?NewsID=9550000000945



  

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

พระนามเต็มของพระมหากษัตริย์ไทย

                              
                    พระนามเต็มของพระมหากษัตริย์ไทย





                     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ มีพระนามเต็มว่า


     สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช  รัตนากาศภาศกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเมนทรต์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณอกณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร

                                            พระบรมนามาภิไธย คือ ทองด้วง

หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ถวายพระบรมนามาภิไธยแก่สมเด็จพระบรมอัยกาธิราชจารึกลงในพระสุพรรณบัฏว่า

"พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ นเรศวราชวิวัฒนวงศ์ ปฐมพงศาธิราชรามาธิบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรดม บรมนารถบพิตร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก"


                                            ***********************



                   


 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ มีพระนามเต็มว่า



พระบาทสมเด็จ พระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ  โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว
 พระปรมาภิไธย ที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ ของรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ เหมือนกันทุกตัวอักษร เนื่องจากในเวลานั้น ยังไม่มีธรรมเนียม ที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกัน ในแต่ละพระองค์ จนในรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติไว้ว่า ในแต่ละรัชกาลจะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกัน เว้นแต่สร้อยพระปรมาภิไธยเท่านั้นที่อณุโลมให้ซ้ำกันได้บ้าง ส่วนคำนำหน้าพระนาม รัชกาลที่ ๔ ก็ได้ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์ หรือปรเมนทร์" เป็นคำนำทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลำดับรัชกาลว่าจะเป็นเลขคี่หรือเลขคู่ เดิมทีเดียวคนสมัยก่อนมักเรียกรัชกาลที่ ๑ ว่าแผ่นดินต้น และเรียกรัชกาลที่ ๒ ว่าแผ่นดินกลาง เหตุเพราะพระนามในพระสุพรรณบัฎเหมือนกัน รัชกาลที่ ๓ จึงไม่โปรดให้ใช้ตามอย่างรัชกาลที่ ๑ และ ๒ เพราะเหตุเช่นนั้น จะทำให้ประชาชนสมัยนั้นเรียกว่าแผ่นดินปลาย ซึ่งดูไม่เป็นมงคล
 พระบรมนามาภิไธย คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร 



                                            ***********************



                      


                     พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มีพระนามเต็มว่า
  
 

สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก
ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ
ฤทธิ ราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว

พระบรมนามาภิไธย คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ หรือ พระองค์ชายทับ



                                            ***********************



                        


                     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีพระนามเต็มว่า



 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฎิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 พระบรมนามาภิไธย คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติวงศ์ พงอิศวรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร


                                            ***********************






                    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระนามเต็มว่า



 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราช รวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิต อรรคอุกฤษฏไพบูลย์ บุรพาดูลย์กฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขมาตยาภิรมย์ อุดมเดชาธิการ บริบูรณ์คุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 พระบรมนามาภิไธย คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชวรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร




                                             ***********************






                    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีพระนามเต็มว่า


 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานาถมหาสมมตวงศ์ อดิศัยพงศ์วิมลรัตน์วรขัตติราชนิกโรดม
จาตุ รันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทร์สูรสันตติวงศวิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ
อดุลย กฤษฎาภินิหาร อดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมาลย์ทิพยเทพาวตาร
ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยวิเศษสรรพเทเวศรานุรักษ์ บุริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุทธสมบัติ เสนางคนิกรรัตนอัศวโกศล ประพนธปรีชา มัทวสมาจาร
บริ บูรณคุณสารสยามาทินคร วรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธร บรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ
นพปฎล เศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษฏาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม
บรมนาถชาติอา ชาวศรัยพุทธาธิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์ อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์
ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระบรมนามาภิไธย คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษย์บรมนราธิราช จุฬาลงกรณนาถราชวโรรส มหาสมมติขัตติยพิสุทธิ์
บรมมกุฎสุริยสันตติวงศ์ อดิศัยพงศ์วโรภโตสุชาติคุณสังกาศวิมลรัตน ทฤฆชนมสวัสดิ ขัตติยราชกุมาร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร



                                             ***********************



                     พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มีพระนามเต็มว่า

 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียามหาราชรวิวงศ์ อสัมภินพงศพีระกษัตรบุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถจุฬาลงกรณราชวรางกูร มหมกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธ อุต์กฤษฎานิบุณย์อดุลยฤษฎาภินิหาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณ์วิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานท สนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ์ มงคลลคนเนมาหวัยสุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชาวุธ วิชัยยุทธศาสตร์โกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญาณประดิภานสุนทร ประวรศาสโนปสุดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฏโสทรสมมต เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิศิกต์ สรรพทศทิศวิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสยามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาธิไตรรัตนวิศิษฎศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฎราธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระบรมนามาภิไธย คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา


                                            ***********************





              พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดิน รัชกาลที่ ๘

 เนื่องจากสม เด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ไม่ได้ทรงประกอบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี ดังนั้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระบรมขัติยราชอิสสริยยศ
รวมทั้ง ยังได้ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์บางองค์ เช่น นพปฎลเศวตฉัตร ซึ่งใช้ในการกางกั้นพระบรมศพและพระบรมอัฐิ จึงได้มีการประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระปรเมนทรมหา-
อานันทมหิดล ขึ้นเป็น "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมล รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช" โดยประกาศเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2489

หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในวโรกาสพระราชพิธีฉลองทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้ถวายเพิ่มพระนามพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า
 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม
จักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์
ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภา คยสรรพางค์ มหาชโนตมงคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร
สรรพรัฐทศทิศวิชิต ไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตน สรณารักษ์วิศิษฎศักตอัครนเรศรามาธิบดี
พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร

พระบรมนามาภิไธย คือ หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล




***********************








               พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีพระนามเต็มว่า

 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบรมนามาภิไธย คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช


 ***********************

  
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=1054.0